อาหารสุขภาพ ที่รับประทานมาก เสี่ยงเป็นโรคไตการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นการพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี หลายคนที่รักสุขภาพจะเลือกรับประทานอย่างเหมาะสมกับร่างกายของเรา เพื่อที่จะได้ไม่เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ในปัจจุบันคนเรามักเกิดโรคภัยไข้เจ็บเพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมักจะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงโรคไต ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆตามมาในอนาคต หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่กล่าวมาข้างต้น ควรที่จะควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้อาการป่วยแย่ลง ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน
ดังนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำถึงอาหารที่ถ้าหากผู้ป่วยเรื้อรังรับประทานมาก จะทำให้เสี่ยงที่เกิดโรคไตได้ เพื่อที่เราจะได้ป้องกันและรู้จักควบคุมอาหารเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง
ต้องบอกก่อนว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ แต่การที่เราควบคุมอาหาร ก็ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ในกลุ่มผู้ป่วย เพราะฉะนั้น การควบคุมอาหารจึงมีความสำคัญต่อผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง เพราะจะช่วยให้ชะลอการเสื่อมของไต ยืดเวลาที่จะต้องล้างไตให้ช้าลง ลดภาระการทำงานของไตในการขับถ่ายของเสีย ทำให้ไตส่วนที่เหลืออยู่ไม่ต้องทำงานหนักเกินตัว ช่วยลดการคั่งของของเสียที่เกิดจากการรับประทานอาหาร และที่สำคัญก็คือช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหาร ทำให้มีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากจะทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายมีการสะสมของเสียมากเกินไป
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ก็คือ
1. อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง อาหารรสจืดแต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
นอกจากนี้ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ
2. ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น
3. โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทเป็นไปตามปกติ เมื่อไตทำงานลดลงจะลดการขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะ ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม ถ้ามีสูงจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว หรือหัวใจเต้นผิดปกติได้
4. เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง
5. เนื้อสัตว์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ซึ่งทำให้ไตทำงานขับถ่ายของเสียหนักขึ้น เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน
6. รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว ถือว่าเป็นอันตรายต่อไต เพราะจะให้ไตทำงานหนักมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
7. แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต จะถูกจำกัดเรื่องการกินโปรตีนมาก เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญโปรตีนจะเกิดของเสียที่ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น ร่างกายก็ยังต้องการโปรตีนเพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออยู่
8. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงหรือการกินเนื้อสัตว์มากเกินไป เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูปซึ่งเพิ่มปริมาณกรดในไต ทำให้เกิดการผลิตแอมโมเนียที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ในไตมากขึ้น
9. เมนูอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง คือ เมนูผัดที่ใช้น้ำมันเยอะ เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง เมนูทอดน้ำมันเยอะ เช่น ไข่เจียวทอดฟู ปลาดุกฟูอาหารจำพวกซุป เช่น ซุปครีมข้าวโพด ซุปครีมเห็ด อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น โจ๊กซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ทางเราอยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายได้มีสุขภาพที่แข็งแรง และควรหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน ห่างไกลจากโรคได้