ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: สมองเสื่อม (Dementia)  (อ่าน 60 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 425
  • ประกาศขายสินค้าออนไลน์ฟรี , ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: สมองเสื่อม (Dementia)
« เมื่อ: วันที่ 5 มีนาคม 2025, 15:08:32 น. »
หมอประจำบ้าน: สมองเสื่อม (Dementia)

สมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่ระบบการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลงหรือมีความบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ความคิด การตัดสินใจ ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ การใช้ภาษา และการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์

สมองเสื่อมเป็นภาวะที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการของผู้ที่ป่วยมักจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมมีทั้งชนิดที่สามารถรักษาให้หายได้และไม่สามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยทางด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย


อาการสมองเสื่อม

อาการของภาวะสมองเสื่อมจะแตกต่างกันไปในผู้ที่ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและบริเวณของสมองที่เสื่อม โดยอาการที่พบได้บ่อยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดหรือกระบวนการรับรู้

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ส่งผลต่อความคิดและการรับรู้ ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะนี้จึงอาจพบอาการดังต่อไปนี้

    สูญเสียความทรงจำ อาการนี้มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกและเป็นอาการที่สังเกตได้ชัดที่สุด โดยผู้ที่ป่วยมักจะมีปัญหาในการจดจำเหตุการณ์ ผู้คน หรือสถานที่
    มีปัญหาเกี่ยวกับการคิดแบบใช้เหตุผล หรือการคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
    มีปัญหาในการสื่อสาร การใช้คำและภาษา เช่น ไม่สามารถเลือกใช้คำที่เหมาะสมในการพูดคุยสื่อสารได้
    มีปัญหาในการวางแผนและจัดการการงานต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถจัดลำดับขั้นตอนในการทำงาน
    มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวประสานงานกันของกล้ามเนื้อ จนไม่สามารถทำงานที่ละเอียดหรือประณีตได้
    มีความสับสน มึนงง เลอะเลือน


การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ

สมองเป็นจุดศูนย์รวมของความคิดและจิตใจ เมื่อสมองเสื่อมลง ผู้ที่ป่วยจึงอาจพบอาการทางด้านจิตใจในลักษณะดังต่อไปนี้

    มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
    มีอาการซึมเศร้า
    เกิดความวิตกกังวล
    มีความหวาดระแวง
    ภาวะกายและใจไม่สงบ กระสับกระส่าย
    มีอาการประสาทหลอน

นอกจากอาการในข้างต้น ผู้ป่วยสมองเสื่อมยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยตามชนิดของภาวะสมองเสื่อมที่ผู้ป่วยเป็น เช่น

    ผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) มักจะเกิดอาการเห็นภาพหลอนชัดเจน
    ผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD ที่มักจะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย เปิดเผยตัวเอง หรือให้ความเห็นเรื่องทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง

ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ ดังนั้น หากพบว่าคนใกล้ตัวมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรพาไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยโรคต่อไป


สาเหตุของสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากการที่สมองเกิดความเสียหายหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนกระบวนการทำงานเสื่อมลง โดยสาเหตุของภาวะนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้

    โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
    ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
    ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
    สมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD
    โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
    การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ

    ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
    การขาดวิตามิน บี 12
    ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
    ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    เนื้องอกในสมองบางชนิด
    ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
    สมองอักเสบ
    ราเรื้อรัง
    เอดส์ เอชไอวี (HIV)


นอกจากความผิดปกติในข้างต้นแล้ว โรคบางโรคก็อาจทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมได้เช่นกัน ได้แก่

    โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมกับระบบประสาทและส่งผลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 30–40 ปี
    สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เช่น อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับนักมวยหรือนักฟุตบอล ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่สมองเสื่อมได้ เช่น เสียความทรงจำ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
    โรควัวบ้า มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์หรือการสัมผัสกับโรคสมองหรือเนื้อเยื่อระบบประสาทที่เป็นโรค เช่น เนื้อสมองจากวัวที่เป็นโรค

ทั้งนี้ นอกจากการเจ็บป่วยด้วยโรคในข้างต้นแล้ว ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสื่อมของสมองได้ เช่น

    อายุ ความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
    มีประวัติคนในครอบครัวเป็นสมองเสื่อม หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นสมองเสื่อม ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นสมองเสื่อมมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
    ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง เกี่ยวข้องหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ แต่จะไม่รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน โดยความบกพร่องดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมได้
    ดาวน์ซินโดรม การพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบบ่อยในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมในวัยกลางคน
    พันธุกรรม ความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์มักจะพบผู้ป่วยสมองเสื่อมประเภทนี้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี
    ปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคซึมเศร้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จัด


การวินิจฉัยสมองเสื่อม

ในการวินิจฉัยสมองเสื่อม แพทย์มักจะเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย โดยแพทย์อาจจะตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม หากแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะสมองเสื่อม เช่น ตรวจสอบระบบประสาท ตรวจสอบสุขภาพทางจิต การตรวจเลือด หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ

ตัวอย่างการตรวจของแพทย์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม ได้แก่


การตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ (MMSE)

MMSE ป็นการทำแบบสอบถามเพื่อวัดความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment) เบื้องต้น เช่น ปัญหาเรื่องความจำเบื้องต้น การใช้ภาษา ความเข้าใจ หรือทักษะเกี่ยวกับเครื่องยนต์ หากได้ค่าที่ต่ำกว่า 23 จาก 30 คะแนน ถือว่ามีความผิดปกติทางสุขภาพจิต


การตรวจ Mini–Cog

Mini–Cog เป็นการตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยสมองเสื่อมได้ โดยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่

    แพทย์จะให้คำ 3 คำ ผู้ป่วยต้องจำและตอบกลับแพทย์ในภายหลัง
    แพทย์จะให้ผู้ป่วยวาดหน้าปัดนาฬิกาเพื่อบอกเวลาที่ถูกต้อง
    แพทย์จะให้ผู้ป่วยบอกคำที่แพทย์ให้ไว้ในตอนแรก


การตรวจ Clinical Dementia Rating: CDR

หากแพทย์วินิจัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะประเมิน CDR ซึ่งหมายถึงการประเมินความสามารถทางด้านความจำ การรู้จักบุคคล เวลา สถานที่ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การใช้ชีวิตและงานอดิเรก การเข้าสังคมและการดูแลตัวเอง โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

    หากได้ค่าเป็น 0 แสดงว่าปกติ
    หากได้ค่าเป็น 0.5 แสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อมน้อยมาก
    หากได้ค่าเป็น 1 แสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย
    หากได้ค่าเป็น 2 แสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อมปานกลาง
    หากได้ค่าเป็น 3 แสดงว่ามีภาวะสมองเสื่อมรุนแรง


การสแกนสมอง

แพทย์อาจใช้เครื่องมือและขั้นตอนทางการแพทย์เพื่อตรวจสอบลักษณะภายในสมองที่เปลี่ยนไปด้วยวิธีต่อไปนี้

    เพทสแกน (PET Scan) การถ่ายภาพทางรังสี ที่สามารถแสดงภาพรูปแบบการทำงานของสมอง เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
    การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ MRI Scan เพื่อตรวจสอบโรคหลอดเลือดในสมอง เลือดออกในสมอง เนื้องอก หรือภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเลือดจะช่วยตรวจสอบปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง เช่น การขาดวิตามิน บี 12 หรือภาวะขาดไทรอยด์ ในบางกรณีการตรวจดูน้ำไขสันหลังช่วยในการตรวจหาการติดเชื้อ การอักเสบ หรือระบุความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้


การรักษาสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาทางการแพทย์อาจช่วยไม่ให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ โดยวิธีการรักษาที่แพทย์มักใช้ ได้แก่


การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจใช้ยาต่อไปนี้เพื่อบรรเทาและควบคุมอาการสมองเสื่อม

    ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ได้แก่ ยากาแลนตามีน (Galantamine) ยาไรวาสติกมีน (Rivastigmine) ยาโดนีพีซิล (Donepezil) ซึ่งมีกลไกการทำงานไปกระตุ้นการรับรู้ที่เกี่ยวกับความทรงจำและการตัดสินใจ
    ยาเมแมนทีน (Memantine) ในบางกรณีแพทย์จะจ่ายยานี้ให้พร้อมกับยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors โดยกลไกการทำงานของยาเมแมนทีนจะเป็นการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของสมอง เช่น ความทรงจำและการเรียนรู้

ในส่วนของยาชนิดอื่น ๆ แพทย์อาจให้ยาที่รักษาอาการและภาวะอื่น ๆ ตามอาการของผู้ป่วย เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือเกิดภาวะซึมเศร้า


การบำบัด

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดต่อไปนี้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น

    ปรับเปลี่ยนการทำงาน เช่น มีการวางแผนและจัดเตรียมขั้นตอนการทำงานให้เรียบร้อย จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองมีความสับสนน้อยลง
    ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม จัดข้าวของให้เป็นระเบียบและตัดเสียงรบกวน จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น
    บำบัดกับนักกิจกรรมบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น การตกจากที่สูง หรือการควบคุมอารมณ์ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะสอนวิธีทางด้านความปลอดภัยและการจัดการกับอารมณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ


ภาวะแทรกซ้อนของสมองเสื่อม

สมองเสื่อมส่งผลกระทบเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ดังนี้

    ภาวะขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักจะลดหรือหยุดการบริโภคอาหาร และในที่สุดอาจไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้
    ปอดบวม เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดความยากลำบากในการกลืนอาหาร อาจทำให้สำลักเอาเศษอาหารเข้าไปในปอด และยังไปกั้นการหายใจและทำให้เกิดปอดบวมได้ในที่สุด
    ดูแลตนเองไม่ได้ ในกระบวนการเกิดสมองเสื่อม อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำ แต่งตัว หวีผมหรือแปรงฟัน เข้าห้องน้ำหรือการรับประทานยาได้ถูกต้อง
    การสื่อสาร ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกไปยังผู้อื่นได้
    ทำให้เกิดอันตราย เช่น การขับรถ หรือการประกอบอาหาร อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วย
    เสียชีวิต สมองเสื่อมในขั้นสุดท้ายอาจส่งผลให้เกิดการโคม่าหรือเสียชีวิต โดยมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ


การป้องกันสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ป้องกันได้ยากเนื่องจากในหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยมักมีภาวะนี้โดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพโดยรวมให้มีความสมบูรณ์ดี ก็เป็นอีกทางที่อาจช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้

    เลิกบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้ และที่สำคัญ ยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงและลดโอกาสเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ โดยให้เน้นการรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ถั่วหรือปลา
    ได้รับวิตามินดีwww.pobpad.com/วิตามินดี อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นจากการรับประทานอาหารเสริมหรือจากแสงแดด เนื่องจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมีโอกาสที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้
    รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมรวมไปถึงโรคอื่น ๆ
    ทำอารมณ์ให้แจ่มใสและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการฝึกสมอง เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
    รักษาระดับความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงอาจเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำให้ได้ 150 นาที/สัปดาห์

 






















































อยากขายของดี
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
ขายสินค้าไม่สต๊อกสินค้า
เริ่มขายของออนไลน์
รับทำ seo ด่วน
smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
ไม่รู้จะขายอะไรดี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
โพสกระตุ้นยอดขาย
วิธีกระตุ้นยอดขาย เซลล์
วิธีแก้ปัญหายอดขายตก
เริ่มต้นขายของ
แหล่งรับของมาขายออนไลน์
ขายของออนไลน์อะไรดี
อยากขายของออนไลน์
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี

กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
วิธีการหาลูกค้าของ sale
ทำ SEO ติด Google
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี
วิธีหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
การหาลูกค้าใหม่ รักษาลูกค้าเก่า
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เพิ่มฐานลูกค้าใหม่
รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด

โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
ทําไงให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
เคล็ดลับขายของดี
ค้าขายไม่ดีทำอย่างไรดี
งานโพสโปรโมทงาน
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
หากลยุทธ์เพิ่มยอดขาย