ลดสภาวะเครียด บำรุงสมองและระบบประสาทบำรุงสมองและระบบประสาท
สมองและระบบประสาท เป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสมองเป็น ศูนย์รวมของระบบประสาท ที่จะคอยควบคุมกลไกและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ให้ทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง รวมทั้งควบคุมเรื่องของการจดจำ ความคิดและการเรียนรู้ ดังนั้นการดูแลรักษาสมองจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำตั้งแต่ช่วงแรกของอายุ
สารอาหารเพื่อการทำงานของสมองและระบบประสาท
1. ซอย เปปไทด์
ซอย เปปไทด์ คือ ถั่วเหลืองผ่านกระบวนการย่อยจนกระทั่งมีโมเลกุลขนาดเล็ก ส่งผลให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วพร้อมประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้โปรตีนที่ได้จากถั่วเหลือง จะประกอบด้วยกรดอะมิโนทั้งชนิดที่ร่างกายสร้างเองและชนิดที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ (Essential amino acid) ในปริมาณที่มากและครบถ้วนกว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทซึ่งได้แก่ อาร์จีนิน กรดกลูตามิก ไกลซีน และกรดแอสพาร์ติก
เพราะสมองต้องการสารอาหารที่สำคัญในการสร้างสารสื่อประสาท (Neurotrasmitter) ดังนั้นการได้รับซอย เปปไทด์ จึงทำให้สมองได้รับสารอาหารที่รวดเร็วก่อให้เกิดความสดชื่น คลายเครียด และกระปรี้กระเปร่าตลอดเวลา นอกจากนี้ซอย เปปไทด์ ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญในการกระตุ้นการปลดปล่อยคลื่นสมองชนิดแอลฟ่าในสมองอีกด้วย ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสมองที่ทำให้มีสมาธิและเกิดการผ่อนคลาย
2. เลซิติน
เลซิตินจัดเป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์สมองถึง 30% และจัดเป็นสารประกอบหลักของ “โคลีน (Choline)” สารซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่ชื่อ “อะซิทิลโคลีน” เพื่อช่วยในการส่งและรับข้อมูลของสมองให้เป็นไปอย่างถูกต้อง รวมถึงทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลด้านความรู้สึกความจำ อารมณ์ต่าง ๆได้ตามที่คิด
3. น้ำมันปลา
น้ำมันปลาคือ น้ำมันที่สกัดได้จากส่วนที่เป็น เนื้อ หัว และหางของปลา ซึ่งส่วนที่ดีที่สุดควรจะเป็นส่วนของเนื้อปลาและควรได้มาจากปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลน้ำเย็นลึกเช่น ปลาแซลมอน ซึ่งสารอาหารที่สำคัญของน้ำมันปลาคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 ที่สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อีพีเอและดีเอชเอ ซึ่งสารอาหารส่วนที่สำคัญสำหรับการทำงานของเซลล์สมองก็คือ ดีเอชเอ นั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซน์เมอร์หรือความจำเสื่อมจะมีระดับของโอเมก้า 3 หรือปริมาณ ดีเอชเอ ในกระแสเลือดต่ำกว่าผู้ที่อยู่ในสภาวะร่างกายปกติ ส่วนมารดาที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ขณะที่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งลูกน้อยมีอายุครบ 4 ปีพบว่า เด็กจะมีระดับไอคิวที่สูงกว่ามารดาที่ไม่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3
4. แอล-ธีอะนีน
แอล-ธีอะนีนจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบมากในชาเขียว มีคุณสมบัติที่สำคัญคือช่วยให้ระบบประสาทและสมองเกิดการผ่อนคลาย
1. แอล-ธีอะนีน จะกระตุ้นการผลิตคลื่นสมองชนิดอัลฟ่า (Alpha Wave) ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสมองที่พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข หรือขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงของการผ่อนคลาย รวมทั้งเป็นช่วงคลื่นที่สมองมีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว
2. แอล-ธีอะนีน มีบทบาทสำคัญในการผลิต GABA (Gamma Amino Butyric Acid) สารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง (Inhibitor) โดย GABA จะทำหน้าที่รักษาสมดุลสารเคมีในสมองที่ได้รับการกระตุ้นให้เข้าสู่ภาวะผ่อนคลายและนอนหลับสบาย
5. โคเอ็นไซม์คิวเท็น
โคเอ็นไซม์คิวเท็นจัดเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติที่ละลายในน้ำมัน มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) และสำคัญต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของทุกระบบในร่างกาย เนื่องจากเป็นสารที่สำคัญมากต่อกระบวนการสร้างพลังงานของแต่ละเซลล์
เนื่องจากโคเอ็นไซม์คิวเท็น เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ ดังนั้นเพื่อให้เซลล์สมองมีสุขภาพที่ดีและเป็นการเพิ่มพลังงานให้กับสมอง การได้รับโคเอ็นไซม์อยู่เป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
6. วิตามินบีรวม (B Complex)
เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะปรับตัวโดยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างสารต่างๆ ออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ซึ่งในการสร้างสารเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ “กลุ่มวิตามินบี (B Complex)” ในการสังเคราะห์ ดังนั้นหากร่างกายอยู่ในภาวะเครียดสะสม วิตามินบีก็จะถูกใช้จนหมดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายโดยเฉพาะสมองขาดพลังงาน และนำไปสู่ภาวะความเครียดที่รุนแรงได้ นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าวิตามินบีรวมจะมีส่วนสำคัญอย่างมากของการสร้างสรสื่อประสาทในสมอง
7. โสม (Ginseng)
โสม (Ginseng) เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้และยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพกันมากในกลุ่มประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีมานานกว่า 2,000 ปี ซึ่งโสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A. Mayer ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์และมีคุณค่าคือส่วนที่เป็นราก สารสำคัญที่พบในรากนั้นชื่อว่า“จินเซโนไซด์ Ginsenoside” ซึ่งจะมีมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของโสมแหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต
กลไกการทำงาน
จินเซโนไซด์ ที่อยู่ในโสมจะทำหน้าที่ในการปรับสมดุลให้กับร่างกาย ทั้งในเรื่องของการลดความเครียดและลดอาการเมื่อยล้าหลังการออกกำลังกาย
8. แป๊ะก๊วย (Ginkgo Biloba)
แป๊ะก๊วย (Ginkgo Biloba) จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีอายุเกือบเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยคุณค่าของแปะก๊วยทำให้ปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ของแปะก๊วยมากกว่า 400 ฉบับสารสำคัญหลักมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)ที่มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และกลุ่มของสารเทอปีน แลคโตน (Terpene Lactone) ที่ประกอบด้วยสาร Bilobalides และ สาร Ginkgolides ซึ่งมีบทบาทต่อการดูแลและป้องกันโรคสมองเสื่อม
กลไกการทำงาน
เพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปสู่สมองมากขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มาทำลายเยื่อหุ้มเซลล์บริเวณสมอง ยับยั้ง Beta-Amyloids สารที่ก่อให้เกิดอัลไซเมอร์ และลดความข้นเหนียวของเลือด