อาหารสุขภาพ ที่ให้แคลเซียมสูงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือเป็นการส่งผลดีต่อร่างกายทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ ในปัจจุบันคนเราใส่ใจในเรื่องของอาหารการกินมากขึ้น เลือกรับประทานมากยิ่งขึ้น เพราะการเลือกรับประทานอาหารเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะคนไทยเรามักมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยเลือกมากนัก จนทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังได้ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งโรคที่กล่าวมานั้น มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารโดยตรง รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค
ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ดี ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของการที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี สารอาหารบางอย่างจำเป็นแก่ร่างกาย จำเป็นที่จะต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม รวมไปถึงแร่ธาตุต่างๆที่มีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกาย รวมไปถึงระบบภายในต่างๆ ทำให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงอาหารที่ให้แคลเซียมสูง ซึ่งแคลเซียม ถือว่าเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ส่งผลดีต่อกระดูกและฟันของเราทำให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งแคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในร่างกายมากกว่าแร่ธาตุอื่นๆ แคลเซียมและฟอสฟอรัส จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังมีส่วนในการทำงานร่วมกันเพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจและเส้นเลือดอีกด้วย
สำหรับอาหารที่ให้แคลเซียมสูงมีด้วยหลากหลายชนิด โดยแหล่งที่พบแคลเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด เช่น ชีท เต้าหู้ ถั่วเหลืองถั่ วลิสง ถั่วแห้ง เมล็ดทานตะวัน บล็อกโคลี กะหล่ำใบเขียว ปลาซาดีนและปลาแซลมอน ซึ่งอาหารเหล่านี้จะให้แคลเซี่ยมสูง การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมจะช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทั้งกระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ และหัวใจ นอกจากนมแล้ว อาหารชนิดอื่น ๆ ก็มีแคลเซียมสูงเช่นกัน ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่มีแคลเซียม เพื่อการเลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย นอกจากนี้ไข่ยังประกอบด้วยแคลเซียมอีกด้วย สำหรับกลุ่มผลไม้ที่ให้แคลเซียมสูงได้แก่ มะขามหวาน มะขามเทศชนิดมัน เสาวรส และลูกหว้า และเครื่องเทศก็ประกอบไปด้วยแคลเซียมด้วยเช่นกัน ซึ่งหลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่เครื่องเทศที่ให้แคลเซียมสูงได้แก่ ใบมะกรูด ลูกผักชี ใบโหระพา ผิวมะกรูด ดอกจันทน์
อย่างไรก็ตาม เราควรที่จะรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย เนื่องจากแคลเซียมหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะได้รับผลเสียได้ หากรับประทานมากกว่า 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้ มีอาการท้องผูก และเพิ่มความเสี่ยงของนิ่วในไตและการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ โดยศัตรูของแคลเซียม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมัน อาหารที่มีกรดออกซาลิก เช่น ช็อกโกแลต ผักโขม ผักบีต และกรดไฟติก ในปริมาณมากจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกายได้นั่นเอง
แต่ในทางกลับกัน การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพออาจยังไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ เพราะร่างกายยังสามารถรักษาระดับแคลเซียมในเลือดไว้ได้โดยอาศัยแคลเซียมจากกระดูก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น ความหนาแน่นของกระดูกลดลงจนทำให้กระดูกบางและแตกหักได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ภาวะพร่องแคลเซียมอย่างรุนแรง และอาจเกิดอาการชาปลายนิ้ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือชัก เป็นต้น ซึ่งบางอาการจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างรักษาตัวจากโรคอื่นๆ
ทั้งนี้ ผู้ที่มีภาวะพร่องแคลเซียมอาจเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมได้ ทางเราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ควรจำกัดในเรื่องของปริมาณ เพราะถึงแม้ว่าอาหารที่เราจะรับประทานเข้าไปถึงแม้จะมีประโยชน์ แต่ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อที่จะได้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ทำให้ห่างไกลจากโรคภัยไขเจ็บได้